“บัตรเครดิต” ใช้ยังไงไม่ให้เสียประวัติ ถ้าเสียประวัติแล้ว ทำอย่างไรไม่ให้ต้องจ่าย

139 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“บัตรเครดิต” ใช้ยังไงไม่ให้เสียประวัติ  ถ้าเสียประวัติแล้ว ทำอย่างไรไม่ให้ต้องจ่าย

การใช้บัตรเครดิตให้ถูกต้อง   ไม่ให้เป็นหนี้จนเสียประวัติ  และติดแบล็คลิส  ต้องใช้ให้ถูกวิธี  ชำระหนี้ให้ตรงเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระหนี้  จะต้องชำระตามยอดขั้นต่ำ 10 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน  แต่ส่วนมากเลือกที่จะจ่าย 5% ซึ่งจะดีมากหากลูกหนี้จ่ายเต็มทั้งจำนวนที่ใช้ไปในรอบที่ผ่านมา  เพราะจะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบ  และวินัยทางการเงินอันจะส่งผลต่อการขอกู้หนี้

          ดังนั้นในกรณีที่ลูกหนี้ต้องขอการกู้หนี้เพื่อให้ได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอถึง 6 เดือน   ซึ่งถ้าลูกหนี้ไม่มีหนี้อย่างอื่นไม่มีหนี้ที่มีการชำระล่าช้า   ซึ่งลูกหนี้ติดแบล็คลิสมีบัตรเครดิตเพียงอย่างเดียว

          หากลูกหนี้หาเงินมาชำระหนี้หรือปิดบัญชีได้  และแจ้งให้กับทางสถาบันการเงินที่ลูกหนี้เป็นหนี้ให้ทราบแบล็คลิส  ก็จะถูกปลดล็อคออกไป ลูกหนี้ก็จะสามารถได้รับการอนุมัติหนี้จากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น….เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับข้อแนะนำดีๆของเราในวันนี้  หลายๆคนถ้าอยากให้ตัวเองมีประวัติการใช้บัตรเครดิตที่ดีๆแล้วล่ะก็ สามารถนำไปปรับใช้กันได้เลยครับ แต่ทั้งนี้ เราขอเตือนว่าการใช้บัตรเครดิตที่รูดปืด รูดปืด จนติดเป็นนิสัย ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยนะครับ เพราะบางครั้งมันอาจทำให้เรากลายเป็นคนมักง่าย ชอบใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายได้ จนเมื่อรู้ตัวอีกทีก็เป็นหนี้ไปเสียแล้ว  ทางที่ดีควรใช้เมื่อยามจำเป็นดีกว่า เก็บหอมรอมริบเอาไว้เผื่อวันข้างหน้า หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นมาจะได้ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินใคร เพราะยังไรเสียการไม่มีหนี้ก็เป็นลาภอันประเสริฐ เหมือนที่ใครหลายๆคนได้พูดไว้นั่นแหละครับ 

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว หากครั้งต่อไปจะใช้จ่ายอะไรยังไงอีก ก็ควรใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและคำนึงถึงตัวเลขที่อยู่ในบัตรด้วยนะครับ 

กรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถชำระได้ จนถูกฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นมา ก็อย่าเพิ่งตกใจ อ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้อง ว่ายอดหนี้ตรงตามที่เราใช้ไหม และต่อไปก็ตรวจสอบเรื่องอายุความ ว่าฟ้องเราภายในอายุความไหม ซึ่งอายุความบัตรเครดิต  มีกำหนด อายุความ  2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้อง ( วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ) หากธนาคารฟ้องเราเมื่อพ้นกำหนดอายุความ ต้องรีบยื่นคำให้การต่อสู้คดีต่อศาลภายในกำหนด หากไม่ยื่นคำให้การ ศาลจะตัดสินให้ธนาคารชนะคดี ซึ่งทนายเอกได้นำตัวอย่างคำให้การบัตรเครดิตมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งคดีนี้ยื่นคำให้การเข้าไปในคดีแล้ว โจทก์ได้ยื่นขอถอนฟ้องและขอค่าธรรมเนียมศาลคืน  ซึ่งตัวอย่างนี้พอเอาไปใช้ได้เป็นแนวทาง  แต่ถ้าจะให้เข้าใจหลักกฎหมายอย่างจริงจังก็ควรปรึกษาทนายความเพื่อขอคำแนะนำจะชัดเจนกว่า  สงสัยหรือต้องการสอบถามติดต่อมาได้นะครับ แต่ขอให้รอหน่อยนะครับ ทนายเอกว่างจะรีบตอบให้ทุกท่านโดยด่วน ท้ายนี้ ทนายเอกขอยกแง่คิดเรื่องการใช้บัตรเครดิตหรือการใช้จ่ายที่ชอบมาลงไว้ตามนี้นะครับ  

                               ถ้าคุณ "ซื้อ" สิ่งที่ไม่จำเป็น ในไม่ช้าคุณจะต้อง "ขาย" ในสิ่งที่จำเป็น

เขียนและเรียบเรียงโดย ทนายเอกพรรดิ์ สายันตนะ 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้